วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

ภาวะขาดน้ำ (water depletion) อาการ อันตราย และการป้องกัน

ภาวะขาดน้ำ  (Water depletion) อาการ อันตรายและการป้องกัน




สาเหตุ  
ภาวะขาดน้ำที่พบได้บ่อยจะมีการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นออสโมลลาลิตี้ร่วมด้วย  ซึ่งจะมีค่าเพิ่มสูงขึ้น  โดยมากแล้ว มักจะเกิดจากการเสียเหงื่อมากกว่าปกติ  จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาตรเลือด  ความดันเลือดและความเข้มข้นของ plasma
               ถ้าเกิดสภาวะที่ผิดปกติขึ้น  เช่น  ท้องร่วง  การเสียเลือด  การอาเจียน  ก็จะเกิดภาวะขาดน้ำที่ความเข้มข้นออสโมลาลิตี้ ไม่เปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากมีการสูญเสียอิเล็กโทรไลท์ร่วมด้วยในปริมาณมากพอ  ( การเสียเลือดจะเป็น isotonic  เสมอ  แต่ ท้องร่วงและอาเจียน อาจเป็น แบบ hypertonic  ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ )
นอกจากนี้  ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกที่ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้  เช่น
  • ภาวะที่ไม่รู้สึกตัวหรือกลืนลำบาก  ทำให้ได้รับน้ำไม่เพียงพอกับปริมาณที่สูญเสียไป

  • ภาวะที่สมองส่วน hypothalamus ถูกทำลายทำให้ระบบควบคุมการกระหายน้ำผิดปกติไป

  • ภาวะที่เป็นโรคเบาจืด ( diabetes insipidus ) เนื่องจากขาด ADH ( antidiuretic hormone )

ลักษณะอาการที่แสดงออก
      ลักษณะที่แสดงออกทางใบหน้า หน้าซีด ตาลึก ปากแห้ง แต่บริเวณรอยต่อของเหงือกและเยื่อบุแก้ม ยังคงชื้นอยู่ (แต่ถ้ามีอาการปากแห้งร่วมกับมีเมือกเหนียวในช่องปาก ควรพิจารณาภาวะโซเดียมเกิน (hypernatremia) ร่วมด้วย)
  •     กระหายน้ำมากขึ้น การที่ปริมาตรของเหลวในร่างกายลดลง จะมีผลทำให้ความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายเพิ่มขึ้น จึงมีผลทำให้ศูนย์ควบคุมการกระหายในสมองทำงานมากขึ้น เป็นผลทำให้เกิดการกระหายน้ำเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การกระหายน้ำยังมีสาเหตุมาจาก hyperglycemia เป็นไข้ ท้องร่วง หรือความผิดปกติของดุลอิเล็กโทรไลท์ เช่น hypercalcemia  และ hypokalemia 

  •    ลิ้นแห้งสาก และมีขนาดเล็กลง  เป็นอาการที่พบบ่อยและบ่งชี้ว่าเป็น FVD  (fluid  volumn depletion)

  •        อุณหภูมิลดลง ผิวหนังจะซีดและเย็น เนื่องมาจากการหดตัวของหลอดเลือด

  •         ผิวหนังจะเสียความยืดหยุ่น คุณสมบัติในการยืดหยุ่นจะเสียไป จึงทำให้เวลาดึงจะกลับคืนสู่สภาพเดิมช้ากว่าปกติ ประมาณ 2-3  วินาที

  •         ปัสสาวะน้อย   น้อยกว่า  30  ml/hr

  •        น้ำหนักลดลง  เป็นผลมาจากการสูญเสียน้ำของร่างกาย


อันตราย สำหรับผู้ที่ขาดน้ำไม่มากเราอาจจะสังเกตสิ่งต่อไปนี้
  • ผิวแห้ง ริมฝีปากแห้ง
  • เพลียหลับงาน เด็กจะซึมไม่ค่อยเล่น
  • หิวน้ำ
  • ปัสสาวะน้อยลง เด็กเล็กจะปัสสาวะน้อยกว่า 6 ครั้งใน 1 วัน ส่วนเด็กโตหากไม่ปัสสาวะใน 8 ชั่วโมงถือว่าร่างกายขาดน้ำ
  • เด็กร้องไห้ไม่มีน้ำตา
  • ไม่มีแรง
  • ปวดศรีษะ
อันตราย สำหรับผู้ที่ขาดน้ำอย่างรุนแรงจะสังเกตเห็นสิ่งต่อไปนี้
  • กระหายน้ำอย่างมาก
  • สับสนกระวนกระวาย เด็กอาจจะซึมลง
  • ผิวหนัง ปากจะแห้งมาก
  • ไม่มีเหงื่อ
  • ไม่ปัสสาวะ หรือปัสสาวะออกน้อยมาก
  • ตาโหล
  • ผิวแห้งสูญเสียความยึดหยุ่่น เมื่อเราดึงผิวหนังขึ้นมาผิวจะตั้งได้ดังรูป
  • หากเป็นเด็กทารกบริเวณขม่อมจะบุ๋มลง
  • ความดันต่ำ ชีพขจรเร็ว
  • หายใจเร็ว
  • ซึม หรือหมดสติ

การรักษา

การทดแทนน้ำเป็นวิธีที่ดีที่สุด
  1. การทดแทนน้ำในเด็ก
  • หากไม่มีข้อห้ามจากแพทย์ท่านสามารถดื่มน้ำเกลือแร่ทันทีที่มีภาวะเสียน้ำ เช่นท้องร่วง หากไม่มีน้ำเกลือแร่ก็อาจจะผสมเกลือ ครึ่งช้อนชา ผงฟู ครึ่งช้อนชา น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะผสมในน้ำ 1 ลิตร เราจะรู้ว่าได้รับน้ำเพียงพอโดยดูจากปริมาณปัสสาวะและสีปัสสาวะว่าใสและออกมากจึงลงปริมาณน้ดื่ม
  • สำหรับทารกไม่ต้องหยุดนมแต่ให้รับน้ำเกลือแร่เสริม สำหรับผู้ที่ดื่มนมผงก็เปลี่ยนนมที่ไม่มี lactose จนกระทั่งท้องร่วงดีขึ้นจึงให้ดื่มนมตามปกติ
  • ให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มหรืออาหารบางประเภท เช่นน้ำเปล่าเพราะว่าไม่มีเกลือแร่ น้ำดื่มสำหรับออกกำลังไม่เหมาะสมที่นำมาใช้ในคนที่เสียน้ำจากท้องร่วงเพราะในน้ำดื่มสำรับออกกำลังจะมีเกลือแร่น้อยกว่า
  1. การทดแทนน้ำสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย ให้ใช้น้ำเปล่าหรืออาจจะใช้น้ำดื่มสำหรับคนที่ออกกำลังกาย
  2. สำหรับผู้ใหญ่ที่ท้องร่วงก็ทดแทนโดยการดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่ให้พอ
  3. สำหรับผู้ที่ป่วยหนักต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ

ภาวะขาดน้ำหากเราได้รับน้ำทดแทนไม่ทันเวลาและปริมาณไม่พอก็อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจจะอันตรายทำให้เสียชีวิตได้

การดื่มน้ำอย่างถูกวิธี

  1. น้ำที่ดื่มถ้าจะให้ดีต้องเป็นน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนมากหรือเย็นจัด แต่ก็ยกเว้นในบางกรณี เช่น ตอนเช้าถ้าเป็นไปได้ควรดื่มน้ำอุ่นเพราะจะช่วยในการขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น ลำไส้ก็จะสะอาดมากขึ้นตามไปด้วย
  2. การดื่มนั้นที่ถูกต้องนั้น ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือจะให้ดีก็วันละ 14 แก้ว หรือโดยเฉลี่ยแล้วควรดื่มน้ำให้เพียงพอกับน้ำหนักตัวของคุณ เช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 60 kg. ก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือประมาณ 10 แก้วนั่นเอง (กรณีนี้ให้นับรวมปริมาณอื่น ๆด้วย เช่น น้ำจากผักผลไม้ แกง ก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ ด้วย)
  3. ในตอนเช้าหลังตื่นนอนหรือก่อนแปรงฟัน ควรดื่มน้ำ 2-4 แก้ว เป็นน้ำอุ่น ๆ ได้ก็จะดีมาก
  4. ในระหว่างวันควรดื่มน้ำ 1 แก้วทั้งก่อนและหลังมื้ออาหารทุก ๆ มื้อ และในระหว่างช่วงสาย บ่าย เย็น ก็ควรดื่มน้ำอีกครั้งละ 1 แก้ว
  5. ในช่วงก่อนนอน น้ำอุ่น ๆ สัก 1 แก้วจะดีมาก
  6. การดื่มน้ำควรดื่มครั้งละแก้ว และที่สำคัญไม่ควรดื่มรวดเดียวหลาย ๆ แก้ว เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะ “น้ำเป็นพิษได้”
  7. ประโยชน์ของน้ำอย่าดื่มน้ำมากเกินไปก่อนที่จะรับประทานอาหาร หรือถ้าจะดื่มก็ควรดื่มน้ำก่อนสักประมาณครึ่งชั่วโมง หรือ 45 นาที
  8. ในระหว่างรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำตลอดเวลา เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง ทำให้ระบบย่อยทำงานได้ไม่ดี
  9. ภายหลังจากรับประทานอาหารเสร็จไม่ควรดื่มน้ำทันที เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจางลง ส่งผลให้การย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วครึ่งชั่วโมง
  10. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นและน้ำอัดลม เพราะน้ำเย็นจะไปดึงความร้อนในร่างกายมาทำให้น้ำที่เราดื่มเข้าไปมีอุณหภูมิเท่ากับร่างกายจึงจะดูดซึมได้ ทำให้ร่างกายเสียเวลาในการปรับสมดุลและสูญเสียพลังงาน
  11. สำหรับคุณผู้หญิงบางท่านที่มักมีอาการปวดประจำเดือน ช่วงที่มีประจำเดือนควรงดดื่มน้ำเย็น เพราะการดื่มน้ำเย็นจะทำให้อาการปวดทวีความรุนแรงมากขึ้น

Credit :
https://medthai.com/น้ำ/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น